วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ความเป็นมาและองค์ประกอบ
การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากการที่โลกได้ถูกแบ่งออกเป็นประเทศ แต่ละประเทศต่างผลิตสินค้าหรือบริการแตกต่างกัน เมื่อแต่ละประเทศต่างเกิดความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่ตนผลิต
ได้เป็นจำนวนมากกับสินค้าและบริการที่ตนผลิต
ได้น้อยหรือผลิตไม่ได้เลยกับประเทศอื่น ประกอบกับการคมนาคมไปมาหาสู่กันสะดวก การค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้น
การที่แต่ละประเทศผลิตสินค้าหรือบริการได้แตกต่างกันเป็นเพราะสาเหตุต่อไปนี้
  1.  แต่ละประเทศต่างมีลักษณะที่ตั้งต่างกัน ลักษณะที่ตั้งของบางประเทศเอื้ออำนวยให้เกิดการผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลก็จะมีอุตสาหกรรมต่อเรือเพื่อขนส่งสินค้าหรือการให้
    การบริการขนถ่ายสินค้าโดยใช้ท่าเรือน้ำลึกบางประเทศมีภูมิประเทศงดงาม
  2. จะมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกิดขึ้น
  3.  แต่ละประเทศมีแร่ธาตุซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติมากน้อยต่างกัน เช่น สวีเดนมีเหล็ก เยอรมันมีถ่านหิน เวเนซูเอลาและตะวันออกกลางมีน้ำมัน แอฟริกาใต้มีทองคำและยูเรเนียม ประเทศเหล่านี้ก็จะนำแร่ธาตุขึ้นมาใช้และส่งเป็นสินค้าออก
  4. แต่ละประเทศมีลักษณะดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน เช่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่นสามารถปลูกข้าวสาลีได้ ไทยอยู่ในเขตมรสุมสามารถปลูกข้าวได้ บราซิลเป็นประเทศในเขตศูนย์สูตรสามารถปลูกกาแฟได้ จากการที่พืชผลสามารถขึ้นได้ดี ตามสภาพดินฟ้าอากาศ แต่ละชนิดดังกล่าวทำให้แต่ละประเทศสามารถผลิตพืชผลชนิดนั้นได้เป็นจำนวนมาก
    เมื่อมีเหลือก็สามารถส่งเป็นสินค้าออก
นอกจากนี้ยังมีทฤษฎียืนยันว่า "ถ้าทุกประเทศแบ่งงานผลิตสินค้าและบริการตามที่ตนถนัด หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้วได้เปรียบจะทำให้มีผลผลิตเกิดขึ้นมากกว่าต่างคนต่างผลิต"
ดุลการค้าและดุลการชำระเงิน
ในการทำการค้าระหว่างประเทศนั้น ประเทศหนึ่ง ๆ ย่อมต้องบันทึกรายการที่เกิดขึ้น เพราะจะทำให้ได้ทราบผลการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ รายการค้ากับต่างประเทศนี้อาจบันทึกอยู่ใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือดุลการค้าและดุลการชำระเงิน
ดุลการค้า (Balance of Trade) ได้แก่ การเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าที่ประเทศหนึ่งส่งออกขาย (export) ให้ประเทศอื่น ๆ กับมูลค่าของสินค้าที่ประเทศนั้นสั่งซื้อเข้ามาจำหน่ายว่ามากน้อยต่างกันเท่าไรในระยะ 1 ปี เพื่อเปรียบเทียบว่าตนได้เปรียบหรือเสียเปรียบ